อัปเดตเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เช็กเงื่อนไข ลงทะเบียนวันไหน ใครได้บ้าง คุณสมบัติ และซื้อสินค้ากลุ่มไหนได้-ไม่ได้บ้าง

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ว่า โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มีความพร้อมที่จะดำเนินการหลังจากพิจารณารายละเอียดและความคิดเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างรอบคอบแล้ว วัตถุประสงค์ของโครงการคือเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ ลดภาระค่าครองชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้ประชาชนและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

อัปเดต เงินดิจิทัลลงทะเบียนวันไหน ?

นายกรัฐมนตรี ประกาศวันที่ เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต และแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในไตรมาส 4 ปี 67

  • กลุ่มที่มีสมาร์ทโฟน ลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567

  • กลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน : ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน - 15 ตุลาคม 2567 โดยมีการตรวจสอบคุณสมบัติตามทะเบียนบ้าน

เงินดิจิทัลใครได้บ้าง ?

  • อายุ 16 ปี จะต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 67
  • เงินฝากกำหนดไม่เกิน 500,000 บาท นับยอดบัญชีเงินฝากถึงวันที่ 31 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา โดยเงินฝากดังกล่าว ต้องเป็นเงินฝากสกุลเงินบาท ในธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐเท่านั้น ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์
    • แม้จะเป็นเงินที่พ่อแม่ออมให้ลูกก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ เพราะเป็นผู้มีรายได้ อีกทั้งเกณฑ์เงินฝากในบัญชีระบุไว้ชัดเจนว่า หากเกิน 500,000 บาท ถูกตัดสิทธิ
  • รายได้ไม่เกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ณ ปี 2566 ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อ 31 ธ.ค. 66 และนับรวมทุกรายได้ที่ยื่นในระบบภาษี (เงินเดือน, ค่าจ้าง, ค่างานฟรีแลนซ์, ค่ารับเหมา, ค่าเช่า, ดอกเบี้ย ปันผล, รายได้ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ)
  • แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท มี 2 กลุ่ม โดนตัดสิทธิรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว
  • ขั้นตอนลงทะเบียนเงินดิจิทัล แอปทางรัฐ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

    นายกฯ เศรษฐา จะแถลงวันที่ 24 ก.ค. 67 เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปฯ ทางรัฐ เริ่ม 1 ส.ค. 2567 สำหรับ 50 ล้านคน เงินใช้จ่ายตามกำหนดในไตรมาส 4 ปี 2567

  • ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ
  • เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือก สมัครสมาชิก
  • สแกนบัตรประชาชน และ ใบหน้าของผู้ใช้งาน
  • ระบุบัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่านเพื่อเริ่มใช้งาน
  • ขั้นตอนลงทะเบียนเงินดิจิทัล ผ่านแอปทางรัฐ รับเงิน 10,000 บาท
  • ช่องทางลงทะเบียนยืนยันตัวตน แอปทางรัฐ รับเงินดิจิตอล

  • การลงทะเบียนเข้าใช้งานผ่านแอปทางรัฐ
  • การยืนยันตัวตนผ่านตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ
  • การยืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม
  • การยืนยันตัวตนผ่านไปรษณีย์
  • การยืนยันตัวตนผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven
  • แอปทางรัฐ เปิดให้ยืนยันตัวตนล่วงหน้า ก่อนแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท
  • จุดให้บริการ (Walk-in) สำหรับผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์สมาร์ตโฟน หรือ ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

    รัฐบาลได้จัดตั้งจุดให้บริการ (Walk-in) จำนวน 5,199 แห่งทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยประกอบด้วย

  • ศูนย์ดิจิทัลชุมชน จำนวน 1,722 ศูนย์ทั่วประเทศ
  • ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1,200 แห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นไปรษณีย์อนุญาต (เอกชน) และร้านค้าให้บริการ)
  • ธนาคารออมสิน 1,047 แห่ง ทั่วประเทศ
  • ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1,238 แห่งทั่วประเทศ
  • เช็กพิกัด ลงทะเบียนเงินดิจิทัล สำหรับคนไม่มีโทรศัพท์ 5,000 จุดทั่วไทยได้ที่นี่
  • เงินดิจิตอล ซื้ออะไรได้บ้าง?

  • สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
  • เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
  • ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
  • ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
  • สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
  • สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
  • สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น
  • สินค้าประเภทไหนที่ใช้ เงินดิจิตอล 10,000 บาท ซื้อไม่ได้?

  • สลากกินแบ่งรัฐบาล
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาสูบ
  • กัญชา
  • กระท่อม
  • พืชกระท่อม
  • ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม
  • บัตรกำนัล
  • บัตรเงินสด
  • ทองคำ
  • เพชร
  • พลอย
  • อัญมณี
  • น้ำมันเชื้อเพลิง
  • ก๊าซธรรมชาติ
  • ร้านทำผม
  • ร้านนวด
  • ร้านเสริมสวย
  • ส่วนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้จัดทำซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป แต่มีโอกาสที่จะจัดอยู่ใน Negative List รวมถึงที่ประชุมบอร์ดดิจิทัลชุดใหญ่ได้กล่าวถึงกลุ่มอาวุธปืน อาวุธยุทโธปกรณ์ ให้กระทรวงพาณิชย์นำไปพิจารณาด้วย

    เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใช้จ่ายผ่านแอปไหน?

    ใช้จ่ายผ่านแอปฯ ทางรัฐ โดยสามารถดาวน์โหลด ลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐได้ทั้ง App Store และ Play Store และเข้าไปยืนยันตัวตน โดยมีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ
  • เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือก สมัครสมาชิก
  • สแกนบัตรประชาชน และ ใบหน้าของผู้ใช้งาน
  • ระบุบัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่านเพื่อเริ่มใช้งาน
  • การตรวจสอบผลลงทะเบียนเงินดิจิทัล

    ผลลงทะเบียนจะแจ้งทาง "แอปทางรัฐ" วันที่ 22 ก.ย. 2567 หากไม่ผ่านจะแจ้งเหตุผลและเอกสารที่ต้องเพิ่ม โดยสามารถอุทธรณ์ได้ เงินจะเริ่มเติมเข้ากระเป๋าตุลาคม และคาดว่าจะใช้จ่ายได้ธันวาคม 2567

    คนเก่า-ร้านค้า ที่เคยร่วมโครงการของรัฐ มี 2 กลุ่มโดนตัดสิทธิแล้ว

    นายจุลพันธ์ เผยประชาชนรวมถึงร้านค้าที่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐ มี 2 กลุ่มที่ถูกตัดสิทธิทันที คือ กลุ่มคนที่เคยกระทำความผิดเงื่อนไข ทุจริตในโครงการของรัฐในอดีต กลุ่มคนที่เคยมีเรื่องการถูกฟ้องร้องเรียกเงินคืนในอดีต มีอยู่ราว 10,000 ราย ถูกตัดออกไป

  • แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คนเก่า-ร้านค้า มี 2 กลุ่มโดนตัดสิทธิแล้ว!
  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท กำหนดสิทธิกี่ล้านคน และใช้งบเท่าไหร่

    นายจุลพันธ์ เผย จะไม่ใช้แหล่งเงินจากมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินและการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ของธนาคารเพื่อการเกษจนและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพราะได้ดำเนินการตามข้อห่วงใยของหน่วยงานตรวจสอบ และไปดูแหล่งที่มาของกรอบวงเงินที่ตัวเลข 4.5 แสนล้านบาท และไม่ได้มีการปรับลดขนาดโครงการฯ ยังคงเป้าหมายประชาชนที่ 50 ล้านคนเช่นเดิม โดยจากการดำเนินโครงการของรัฐบาลในอดีต จะพบว่ามีผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 90% ฉะนั้น จึงต้องงบประมาณรองรับไว้ที่ 45 ล้านคน หรือคิดเป็นงบประมาณราว 4.5 แสนล้านบาท หากมีประชาชนมาลงทะเบียนน้อยกว่าหรือมากกว่า ก็จะใช้กลไกบริหารงบประมาณเพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอกับโครงการนี้

    แหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต มาจากงบประมาณปี 2567 และปี 2568 มีดังนี้

  • งบประมาณปี 2567 ทั้งการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม วงเงิน 122,000 แสนล้านบาท และการบริหารจัดการงบประมาณอีก 43,000 ล้านบาท โดยไม่ใช่แค่งบกลางอย่างเดียว
  • งบประมาณปี 2568 วงเงิน 152,700 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณางบประมาณ และการบริหารจัดการงบประมาณอีก 132,300 ล้านบาท
  • ร้านค้าแบบไหนที่ถอนเงินสด จากโครงการเงินดิจิทัลได้ ?

    คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)
  • ร้านค้าร่วมดิจิทัลวอลเล็ต ขายของได้กี่วัน ถึงจะได้เงินสด

  • ประชาชนใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อของในร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านค้าขนาดเล็กในชุมชนที่ร่วมโครงการในเขตอำเภอตนเอง 878 แห่ง
  • ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านสะดวกซื้อ (คนที่ 1 รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท จากผู้ใช้สิทธิมา) แต่ไม่สามารถขึ้นเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้ทันที
  • ร้านค้า (คนที่ 1) ต้องนำเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ได้จากผู้ใช้สิทธิไปซื้อสินค้าต่อจากพ่อค้าคนที่ 2 ในทุกขนาดร้านค้า
  • ร้านค้า (คนที่ 3) ที่รับเงินดิจิทัล 10,00 บาท ที่อยู่ในระบบภาษี และภาษีนิติบุคคล นำเงินดิจิทัลที่ได้ทั้งหมดไปขึ้นเงินสดได้
  • ซึ่งการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สอดคล้องกับที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุไว้ว่า ร้านค้าไม่สามารถกดเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถกดเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป